การพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์โดยการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ แบบโครงการของเด็กปฐมวัย โรงเรียนบ้านสันป่าสักอำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่

โรงเรียนบ้านสันป่าสัก อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 4

สังคมโลกปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก และการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวส่วนใหญ่เป็นผลมาจากความสามารถทางสติปัญญาของมนุษย์? ทำให้วิทยาการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีความเจริญก้าวหน้ามากขึ้น? สร้างความสะดวกสบายให้กับมนุษย์? ในขณะเดียวกันผู้ใช้บริการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควรมีความสามารถในการคิด? รู้จักหาแนวทางในการแสวงหาความรู้? มีความรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง? รู้จักเลือก รับ ปรับเปลี่ยนสิ่งต่าง ๆให้เหมาะสม และแก้ไขปัญหาได้ด้วยตนเอง? โดยเฉพาะปัญหาที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน? ซึ่งคุณลักษณะต่าง ๆดังกล่าวควรได้รับการปลูกฝัง? ฝึกฝนตั้งแต่เด็กปฐมวัย? ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันแล้วว่าเป็นวัยแห่งการวางรากฐานของการพัฒนาทุกด้าน? แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ? ฉบับที่ 10? (พ.ศ. 2550-2554)? ยังชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นในการปรับเปลี่ยนจุดเน้นในการพัฒนาคุณภาพคนในสังคมไทยให้มีคุณธรรม? และมีความรอบรู้อย่างเท่าทัน? ให้มีความพร้อมทั้งด้านร่างกาย? สติปัญญา อารมณ์และศีลธรรม สามารถก้าวทันการเปลี่ยนแปลงเพื่อนำไปสู่สังคมฐานความรู้ได้อย่างมั่นคง? และเพื่อเป็น การเตรียมเด็กไทยสู่ความเป็นประชาคมอาเซียน ใน พ.ศ. 2558?? รวมทั้งการเตรียมคุณลักษณะเด็กไทยในศตวรรษที่ 21 โดยมุ่งส่งเสริมผู้เรียนมีคุณธรรม รักความเป็นไทย ให้มีทักษะการคิดวิเคราะห์? สร้างสรรค์ มีทักษะด้านเทคโนโลยี? สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่น และสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมโลกได้อย่างสันติ (กระทรวงศึกษาธิการ,2551)? ดังนั้นการศึกษาปฐมวัยต้อง พัฒนาเด็กให้เจริญเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ดีของสังคม มีทักษะชีวิตที่ส่งเสริมศักยภาพสูงสุดของเด็ก อันเป็นพลังการเรียนรู้ที่จะช่วยให้เด็กเป็นคนดี เก่งและมีความสุข ภายใต้บริบทสังคม? วัฒนธรรมไทยที่เด็กอาศัยอยู่ ดังการปฏิรูปการศึกษารอบ 2 (พ.ศ. 2552-2561) ที่เน้นให้คนไทยได้เรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ? ด้วยเหตุผลสำคัญกล่าว? สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ได้เล็งเห็นความสำคัญของการพัฒนาประสบการณ์เรียนรู้วิทยาศาสตร์ในระดับปฐมวัย จึงได้จัดทำกรอบสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ระดับปฐมวัย เพื่อให้ครูผู้สอนในระดับปฐมวัยใช้เป็นแนวทางในการจัดประสบการณ์ด้านวิทยาศาสตร์ที่สอดคล้องกับหลักสูตรปฐมวัย? พุทธศักราช 2546? และอยู่บนพื้นฐานของมาตรฐานการศึกษากลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ หลักสูตรแกนกลาง พุทธศักราช 2544 (สสวท., 2551)?? นอกจากนี้ กระทรวงศึกษาธิการ ยังได้ประกาศใช้มาตรฐานการศึกษาปฐมวัย เพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา พ.ศ. 2554 มีทั้งหมด? 11? มาตรฐาน? 51? ตัวบ่งชี้ ในมาตรฐานด้านผู้เรียน มาตรฐานที่ 4 เด็กมีพัฒนาการด้านสติปัญญา ตัวบ่งชี้ที่ 4.4 มีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ?ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความตระหนัก ความสำคัญ จำเป็นที่ต้องพัฒนาเด็กด้านวิทยาศาสตร์ในระดับปฐมวัย ของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะการวางรากฐาน การคิด ทัศนคติ บุคลิกภาพตั้งแต่ระดับปฐมวัย ที่มีต่อการเรียนวิทยาศาสตร์? เพราะการมีความรู้? ความเข้าใจเรื่องวิทยาศาสตร์? ไม่ใช่เป็นแต่เพียงอาชีพ อาชีพหนึ่งในอนาคต แต่จะเป็นการวางพื้นฐานทางปัญญา และพื้นฐานของนิสัยผู้รู้จักการเป็น ?ผู้รู้รอบ? ไปสู่การเป็น ?ผู้รู้ลึก รู้จริง?

การจัดการศึกษาให้กับเด็กปฐมวัยที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็กให้ครบทั้ง 4 ด้าน คือด้านร่างกาย ด้านอารมณ์-จิตใจ ด้านสังคมและด้านสติปัญญา แต่การส่งเสริมพัฒนาการของเด็กปฐมวัยยังไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควรโดยเฉพาะการจัดการศึกษาให้กับเด็กปฐมวัยยังไม่ได้มีการจัดการศึกษาในลักษณะของการส่งเสริมพัฒนาความสามารถในการใช้กระบวนการวิทยาศาสตร์และทักษะวิทยาศาสตร์เท่าที่ควร เนื่องจากการจัดการศึกษาให้กับเด็กปฐมวัย ยังเน้นการสอนที่เนื้อหามากกว่ากระบวนการเรียนรู้ (สุวรรณี ขอบรูป,2540, หน้า 3) ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เป็นกระบวนการคิด เป็นกระบวนการทางปัญญา (Intellectual? Skill) เป็นกระบวนการที่ใช้แก้ปัญหา (สุวัฒน์? นิยมค้า, 2531 หน้า 160-161) ถ้าครูรู้จักนำมาความรู้และวิธีการทางวิทยาศาสตร์มาดัดแปลงให้เหมาะสมกับสภาพสติปัญญาและธรรมชาติของเด็กปฐมวัยแล้วก็จะเป็นการพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ให้เด็กได้??? ซึ่งทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ ประกอบด้วย ทักษะการสังเกต ทักษะการจำแนกประเภท ทักษะการวัด ทักษะการใช้ตัวเลขจำนวน ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่าง สเปสกับสเปสและสเปสกับเวลา ทักษะการสื่อความหมาย ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูลและทักษะการทำนาย (สุวรรณี ขอบรูป, 2540, หน้า 2) ???ซึ่งการส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยมีทักษะที่จำเป็นจะต้องคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลและเปิดโอกาสให้เด็กสำรวจ สังเกต จำแนก การวัด การเปรียบเทียบ การสื่อสาร การทำนายและการใช้ตัวเลขก็จะทำให้เด็กรู้จักการคิดอย่างมีเหตุผล รู้จักการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ ใช้กระบวนการคิดอย่างมีเหตุผล สร้างสรรค์ผลงานด้วยกระบวนการกลุ่ม สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันและเป็นทักษะพื้นฐานที่สำคัญที่เราจะต้องส่งเสริมให้กับเด็กปฐมวัย (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, 2536 หน้า,บทนำ) ซึ่งทักษะกระบวนทางการวิทยาศาสตร์ที่กล่าวมานั้นอยู่ในระดับที่เรียบง่ายไม่ซับซ้อนอยู่ในขั้นที่เด็กปฐมวัยสามารถลงมือปฏิบัติได้จริงและเกิดการเรียนรู้ได้

กล่าวได้ว่า ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และยังเปรียบเสมือนเครื่องมือจำเป็นในการแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์? ดังนั้นการปลูกฝังทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่สำคัญเพื่อเป็นพื้นฐานให้แก่ผู้เรียนจึงเป็นสิ่งสำคัญและควรปลูกฝังตั้งแต่ปฐมวัย? นอกจากนี้วิทยาศาสตร์ยังเป็นวิชาที่มีความสอดคล้องกับพัฒนาการของเด็ก ดังที่ พรพิไล? เลิศวิชา (2551,หน้า, 11) กล่าวไว้ว่า เด็กในวัยอายุ? 3-5 ปี เป็นวัยทองของชีวิต เด็กวัยนี้มีพัฒนาการอย่างต่อเนื่องของสมองและระบบประสาท?? สมองของเด็กอนุบาลกำลังเติบโต? เมื่ออายุ? 3? ปีสมองของเด็กเท่ากับ 3 ใน 4? ของสมองผู้ใหญ่? ภายใน 5ปี? สมองเด็กโตเป็น 9? ใน 10? ของขนาดสมองผู้ใหญ่? ธรรมชาติของเด็กคือมีความอยากรู้อยากเห็นช่างสังเกต? และคอยซักถามเกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ? ที่พวกเขาพบ ???จึงสรุปได้ว่า การกระตุ้นให้เด็กปฐมวัยได้พัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นั้น ควรจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ให้เด็กได้ลงมือกระทำด้วยตนเอง ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เป็นกระบวนการขั้นพื้นฐาน หรือทักษะเบื้องต้นที่ควรส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยได้รับการพัฒนา เพื่อปลูกฝังให้เด็กไทยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ค้นหาเหตุและผลในสิ่งที่สนใจ กระตุ้นความคิด จินตนาการ และความกล้าแสดงออกคิดอย่างเป็นระบบ มีเหตุผล และยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น อันเป็นพื้นฐานสำคัญของการดำรงชีวิตในยุคปัจจุบันและพัฒนาให้เด็กเติบโตอย่างมีคุณภาพ

ในการจัดกิจกรรมหรือประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย? เด็กควรจะได้เรียนรู้จากประสบการณ์ตรง หรือสิ่งที่เป็นรูปธรรม โดยผ่านการรับรู้ทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 ได้แก่ การฟัง? การดม? การมอง การสัมผัส และการชิมรส? ดังที่จอห์น? ดิวอี้ (John Dewey) ได้กล่าวว่า เด็กเรียนรู้ด้วยการกระทำ (Learning? by doing) ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของ เพียเจท์ (Piaget) ที่กล่าวว่า กระบวนการพัฒนาทางสติปัญญานั้นเกิดจากการกระทำ? และบรูเนอร์ (Bruner) ยังสนับสนุนการเรียนรู้ของเด็กที่เกิดจากการค้นพบด้วยตนเอง (ชนกพร? ธีระกุล, 2541, หน้า 2)? แต่ผลการประเมิน ด้านพัฒนาการเด็ก 3-5 ปี (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, 2544, หน้า 8 ) พบว่า การจัดการศึกษาปฐมวัยขาดคุณภาพ ในเรื่องวิธีการเรียนรู้ของเด็ก เช่น จัดการเรียนรู้โดยให้เด็กท่องจำอย่างเดียว ไม่ส่งเสริมให้เด็กใช้การคิดตั้งแต่เล็กๆ ให้เด็กนั่งอยู่กับที่ทั้งวัน การจัดหลักสูตรการเรียนการสอนที่ตายตัว การเร่งสอนอ่านเขียนและคิดเลขเกินระดับความสามารถของเด็ก เพื่อให้เด็กสอบเข้าชั้นประถมศึกษาปีที่ 1ได้ ไม่ให้อิสระในการแสดงออก ห้ามให้เด็กพูด ให้นั่งเงียบ ๆ ครูมีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับวิธีการเรียนรู้ที่ยึดเด็กเป็นสำคัญ? สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนมีผลทำให้คุณลักษณะช่างสงสัยและใฝ่หาคำตอบในเด็กปฐมวัยหายไป? เด็กไม่ได้รับการพัฒนาศักยภาพอย่างเต็มที่? สภาพดังกล่าวส่งผลให้คุณภาพของการศึกษาอยู่ในระดับที่น่าเป็นห่วง ความรู้ความสามารถของเด็กไทยโดยเฉลี่ยอ่อนลง ทั้งในด้านกระบวนการคิด ความรู้ทางวิชาการ และคุณ ลักษณะที่พึงประสงค์

การจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ให้แก่เด็กปฐมวัยนั้นสามารถจัดกิจกรรมในรูปแบบต่าง ๆ ได้หลากหลาย เช่น การทดลอง ซึ่งเปิดโอกาสให้เด็กได้ลงมือกระทำด้วยตนเอง การสืบสวนสอบสวนที่ฝึกให้เด็กได้เสาะหาข้อมูล รู้จักคิดหาเหตุผลในการแก้ปัญหาต่าง ๆ แบบการศึกษานอกสถานที่ช่วยให้เด็กได้ประสบการณ์ตรง เป็นต้น นอกจากรูปแบบของการจัดประสบการณ์ดังกล่าวนี้แล้ว? ผู้วิจัยมีแนวคิดว่าการจัดประสบการณ์แบบโครงการ (Project? Approach) เป็นอีกวิธีหนึ่งที่สามารถทำให้เด็กได้มีโอกาสพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์? ซึ่งการจัดประสบการณ์แบบโครงการเป็นรูปแบบการสอนที่มุ่งการให้ความสำคัญกับความต้องการและความสนใจของเด็กโดยเด็กจะเป็นผู้มีบทบาทในการเลือกเรื่องที่จะเรียน เลือกวิธีการที่จะศึกษาหาความรู้ด้วยตนเอง และมีครูที่ยอมรับความคิดเห็นของเด็ก แสดงให้เห็นว่าครูให้ความสนใจ เชื่อมั่นในความคิดของเด็ก และให้โอกาสเด็กที่จะเรียนรู้ตามความคิดและวิธีการของตนเอง (วัฒนา? มัคคสมัน,2539, หน้า 6)

จากแนวคิดดังกล่าว? การสอนแบบโครงการเปิดโอกาสให้เด็กได้ศึกษาค้นคว้าตามความสนใจของตนเอง การจัดการเรียนการสอนมุ่งที่ความสนใจของเด็กเป็นหลัก? เพื่อให้เด็กได้มีโอกาสศึกษาเรื่องที่ตนสนใจอย่างลุ่มลึก? มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ มีการวางแผนร่วมกัน? ได้ฝึกสังเกต ค้นคว้าทดลอง ปฏิบัติ เพื่อคิดค้นหาคำตอบเรื่องที่สงสัย จึงเป็นการสอนที่เน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์? โดยผู้สอนมีบทบาทยอมรับความคิดเห็นและการแสดงออกของเด็ก เป็นผู้คอยช่วยเหลือ และสนับสนุนให้เด็กได้มีโอกาสสำรวจ สังเกต ทดลอง จัดกระทำสิ่งต่าง ๆ ด้วยตนเอง โดยมีผู้ปกครองและชุมชนเป็นแหล่งวิชาการ เป็นผู้สนับสนุนและมีส่วนร่วม ซึ่งสอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 หมวด 4? มาตรา 22? ที่ระบุว่าการจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติ และเต็มตามศักยภาพ และมาตรา 24? ที่กล่าวถึงกระบวนการเรียนรู้ได้กำหนดว่า ต้องจัดเนื้อหาสาระ และกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจ ความถนัด และความแตกต่างของผู้เรียน ได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกปฏิบัติให้ทำได้? คิดเป็น? ทำเป็น รักการอ่านและเกิดการใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง

ผู้ศึกษาเป็นผู้สอนในระดับปฐมวัย ของโรงเรียนบ้านสันป่าสัก? อำเภอหางดง? จังหวัดเชียงใหม่? ซึ่งเป็นโรงเรียนขยายโอกาสที่จัดการศึกษาตั้งแต่ระดับปฐมวัย ถึงระดับมัธยมศึกษาตอนต้น มีนักเรียนทั้งสิ้น 880? คน? ในระดับปฐมวัยมีนักเรียนทั้งสิ้น? 120 คน? จัดเป็นชั้นเตรียมอนุบาล (3 ขวบ) ชั้นอนุบาลปีที่ 1 (4-5 ขวบ) และชั้นอนุบาลปีที่ 2 (5-6 ขวบ)โรงเรียนบ้านสันป่าสัก? ก็เป็นโรงเรียนอีกโรงหนึ่งที่ประสบปัญหานักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำเกือบทุกสาระการเรียนรู้ ในทุกทั้งระดับประถม และมัธยมศึกษา และผลการประเมินเพื่อประกันคุณภาพการศึกษาตาม มาตรฐานการศึกษา? โดยสำนักงานรับรองมาตรฐานการศึกษาแห่งชาติ (สมศ.) รอบ ที่3? ที่ผ่านมาต้นปีการศึกษา 2554? ซึ่งได้กำหนดระดับการประเมินออกเป็น? 5? ระดับ คือ? ดีมาก? ดี? พอใช้? ปรับปรุง และต้องปรับปรุง? ปรากฏว่าในระดับปฐมวัย กลุ่มตัวบ่งชี้พื้นฐาน? ตัวบ่งชี้ที่ 3 เด็กมีพัฒนาการด้านสังคมสมวัย ตัวบ่งชี้ที่? 4? เด็กมีพัฒนาการด้านสติปัญญาสมวัย? ตัวบ่งชี้ที่ 5 เด็กมีความพร้อมที่ศึกษาในระดับต่อในขั้นต่อไป?? และตัวบ่งชี้ที่ 6? ประสิทธิผลของการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ? มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ดี? และได้รับข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาการเด็กในด้านอารมณ์และจิตใจ ควรให้เด็กได้รับการส่งเสริมกิจกรรมการเรียนรู้ซึ่งให้เด็กได้กล้าแสดงออก มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อเพื่อน และ? ผู้อื่น สนใจสิ่งแวดล้อม และธรรมชาติรอบ ๆตัวเน้นการพัฒนาเด็กเป็นรายบุคคล??? เมื่อพิจารณาโดยรวมผลการประเมินยังไม่เป็นที่พอใจ เพราะจากบริบทของโรงเรียนซึ่งเป็นโรงเรียนที่มีความพร้อมในระดับหนึ่ง และสภาพที่เอื้อต่อจัดการศึกษาของโรงเรียนบ้านสันป่าสัก ทั้งด้านผู้ปกครองชุมชน ด้านทรัพยากร จึงนับได้ว่าผลการจัดการศึกษาของโรงเรียนที่ผ่านยังไม่บรรลุเป้าหมายที่ควรจะเป็น? นับเป็นปัญหาที่จำเป็นเร่งด่วนที่โรงเรียนเร่งต้องยกระดับคุณภาพของสถานศึกษาให้สูงขึ้น? โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับปฐมวัยซึ่งเป็นพื้นฐานของระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ถ้าเด็กมีความพร้อมที่จะเรียนในระดับที่สูงขึ้นอยู่ในระดับต่ำก็จะเป็นปัญหาในระดับชั้นต่อไป

ด้วยเหตุผลแนวคิดหลักการที่กล่าวมาทั้งหมด ผนวกกับผู้ศึกษาซึ่งรับผิดชอบสอนในระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2/1? จึงสนใจที่จะปรับเปลี่ยนกระบวนการเรียนการสอน ?เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ โดยการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงการ ของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ ?2/1 ?โรงเรียนบ้านสันป่าสัก? อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่

ดาวน์โหลดเอกสาร

คู่มือการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงการ

แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงการ

กิตติกรรมประกาศ

บทที่ 1

บทที่ 2

บทที่ 3

บทที 4

บทที่ 5

บรรณานุกรม

ภาคผนวก