ที่มาและความสำคัญ

โครงงาน อย.น้อย เกิดขึ้นเนื่องจากการจัดตั้งชมรมคุ้มครองผู้บริโภคในโรงเรียนตาม แนวทางของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาขึ้นเพื่อช่วยเหลือเพื่อนๆ  ครอบครัว ชุมชน ด้วยการให้ความรู้การบริโภคอย่างเหมาะสม ปลอดภัย และจากการสังเกตพฤติกรรมในการเลือกรับประทานอาหาร หรือการเลือกซื้อใช้ผลิตภัณฑ์ประเภทยาและเครื่องสำอางของเยาวชนที่อยู่ในวัยเรียนซึ่งส่วนใหญ่มักมีพฤติกรรมในการเลือกซื้อ หรือใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีสีสันต้องตา หรือกำลังอยู่ในช่วงของการโฆษณา ตามสื่อประเภทต่างๆ โดยมิได้คำนึงถึงประโยชน์ อันตราย หรือความปลอดภัย สักเท่าไรพฤติกรรมดังกล่าวนี้อาจเกิดจาก หลายสาเหตุ ตัวอย่างเช่น วิถีการดำเนินชีวิตที่เปลี่ยนไปจากเดิมเป็นวิถีชีวิตแบบรีบเร่ง และเอาตัวรอดมากขึ้น มีสื่อประเภทต่างๆ เข้ามามีบทบาทในสังคมปัจจุบัน เพิ่มมากขึ้นให้ผู้บริโภคอาจหลงเชื่อจนกระทั่งตัดสินใจเลือกซื้อใช้ผลิตภัณฑ์นั้นๆ ซึ่งต่างจากในอดีตประชากรมักดำรงชีวิตแบบเอื้ออาทรอีกทั้งด้านการผลิต ยังคงใช้วัสดุจากธรรมชาติเป็นส่วนประกอบมากกว่ารวมถึงมีการเอารัดเอาเปรียบผู้บริโภคด้วยกลวิธีต่างๆ ของผู้ผลิตยังไม่มาก เช่น ปัจจุบันนอกจากนี้กลุ่มเยาวชน ที่อยู่ในวัยเรียนโดยเฉพาะผู้เรียนในช่วงชั้นที่ 2 – 4 อายุระหว่าง 10 – 15 ปี   ถือว่าเป็นกลุ่มผู้บริโภคอีกกลุ่มหนึ่งที่มีความสำคัญหากกลุ่มเยาวชนดังกล่าวไม่ได้รับ ความรู้เกี่ยวกับการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ประเภทต่างๆ ซึ่งผู้ผลิตได้ผลิตออกมาเพื่อสนองความต้องการของผู้บริโภคอย่างหลากหลายมีทั้งผลิตภัณฑ์ที่ถูกต้องตาม มาตรฐานที่กำหนดแต่ก็ยังคงมีผลิตภัณฑ์ที่ผู้ผลิตได้แอบอ้างสรรพคุณมีการโฆษณาชวนเชื่อเกินความเป็นจริง หรืออาจมีผลิตภัณฑ์ที่มีสารปนเปื้อนเป็นอันตราย ปะปนอยู่เป็นจำนวนมากพร้อมกันนี้ควรให้ความรู้เกี่ยวกับการตรวจสอบสารปนเปื้อนในอาหาร และการอ่านดูข้อมูลโภชนาการจากฉลากผลิตภัณฑ์ควบคู่ไป ด้วยหากเยาวชนกลุ่มดังกล่าวมีความรู้และมีทักษะในการเลือกซื้อใช้ผลิตภัณฑ์ประเภทต่างๆ จะทำให้สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันจนสามารถทำให้ปัญหาด้านสุขภาพหรือปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมต่างๆ ลดน้อยลงได้พร้อมทั้งให้ความรู้ให้คำปรึกษาแก่บุคคลในครอบครัว หรือบุคคลทั่วไปได้อย่างมั่นใจ นักเรียนแกนนำ อย.น้อยโรงเรียนบ้านสันป่าสัก จึงเกิดความสนใจที่จะแก้ปัญหาดังกล่าวจึงได้ดำเนินการจัดกิจกรรม อย.น้อย อย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด พร้อมทั้งขยายการจัดกิจกรรมต่างๆ ไปยังเครือข่ายผู้ปกครอง และชุมชนด้วย เพื่อช่วยในการแก้ปัญหาดังกล่าวข้างต้นจึงจัดทำ โครงงานสุขภาพเรื่อง   อย.น้อย ช่วยให้ “ กินเป็น  ใช้เป็น ปลอดภัย ” ซึ่งประกอบด้วยกิจกรรมอย่างหลากหลายเพื่อให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความรู้ และเกิดทักษะ ในการเลือกซื้อใช้อาหารยา และเครื่องสำอางที่เป็นประโยชน์ไม่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ และสิ่งแวดล้อม อีกประการหนึ่งเพื่อเป็นการส่งเสริมสนับสนุนให้นักเรียนแกนนำ อย.น้อย ได้รู้จักการทำงานเป็นทีมการวางแผนในการปฏิบัติงานกล้า แสดงออกในการเผยแพร่ความรู้แก่ นักเรียนเครือข่าย อย.น้อย ผู้แทนเครือข่ายผู้ปกครอง และประชาชน ทั่วไปอย่างมั่นใจ

วัตถุประสงค์

โครงงานเรื่อง อย. น้อยช่วยให้ “ กินเป็น ใช้เป็น  ปลอดภัย” เป็นโครงงานที่จัดทำขึ้นเพื่อใช้ในการแก้ปัญหาต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากการ ที่ผู้บริโภคไม่มีความรู้เกี่ยวกับการเลือกซื้อหรือเลือกใช้ผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับอาหารและยาประเภทต่างๆ โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้

  1. เพื่อจัดกิจกรรมให้ความรู้และมีทักษะเกี่ยวกับการเลือกซื้อ/เลือกใช้อาหารยาและเครื่องสำอางสามารถหลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับอาหารยาและเครื่องสำอางที่มีส่วนประกอบของสารปนเปื้อนในอาหารหรือสารห้ามใช้และสารอันตราย
  2. เพื่อจัดกิจกรรมให้ความรู้และทักษะในการตรวจสอบสารปนเปื้อนในอาหารด้วยชุดทดสอบพิจารณาสังเกตสารปนเปื้อนหรือสาร
    อันตรายโดยสังเกตจากลักษณะทางกายภาพของอาหารยาและเครื่องสำอางได้
  3. เพื่อประเมินผลการทำกิจกรรมตามโครงงานเรื่อง อย.น้อย ช่วยให้ “กินเป็นใช้เป็นปลอดภัย”
  4. เพื่อประเมินความรู้ ก่อน-หลัง ทำกิจกรรมและความพึงพอใจในการทำกิจกรรมโครงงาน

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

โครงงานเรื่อง อย.น้อย ช่วยให้ “กินเป็น ใช้เป็น ปลอดภัย” เป็นโครงงานที่จัดทำขึ้นเพื่อใช้ในการแก้ปัญหาต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากการที่ ผู้บริโภคไม่มีความรู้เกี่ยวกับการเลือกซื้อหรือเลือกใช้ผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับอาหารและยาประเภทต่างๆ โดยมีการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ตามปฏิทิน การปฏิบัติงานโดยกำหนดผลที่คาดว่าจะได้รับดังนี้

  1. มีความรู้และมีทักษะในการอ่านตรวจสอบและเปรียบเทียบผลิตภัณฑ์ต่างๆ
  2. นำไปใช้ในชีวิตประจำวันและสามารถให้คำปรึกษาแก่บุคลในครอบครัวและบุคคลทั่วไปได้
  3. นักเรียนชมรม อย.น้อย สามารถเผยแพร่ถ่ายทอดความรู้แก่ผู้อื่นได้อย่างมั่นใจมีความกล้าคิด กล้าทำ กล้าแสดงออก อย่างสร้างสรรค์ และมีทักษะในการทำงานเป็นทีม
  4. นักเรียนมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมและแสดงความสามารถได้อย่างเต็มที่
  5. นักเรียนเกิดทักษะในการค้นคว้าหาความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพทั่วไปได้อย่างเป็นระบบ
  6. นักเรียนเกิดทักษะการวิเคราะห์ สังเคราะห์ และมีความคิดสร้างสรรค์ในการเลือกซื้อเลือกใช้ผลิตภัณฑ์อาหาร ยาและเครื่องสำอาง
  7. ชุมชนมีส่วนร่วมในการแสดงความเห็นและวางแผนแนวทางการปฏิบัติงานให้สามารถไปประยุกต์ใช้ในชุมชนได้อย่างสร้างสรรค์

รายชื่อแกนนำ อย.น้อย

ลำดับ ชื่อ – นามสกุล ชั้น
1 ด.ช.สุธาวิน  ตั้งเงิน ป. 1/1
2 ด.ญ.นฤมล ลุงติยะ ป. 1/1
3 ด.ช.ภานุพงค์ กันทะวัง ป. 1/2
4 ด.ญ.ศศิพิมพ์ ลุงแหลง ป. 1/2
5 ด.ช.ชลภัญญ์ จันทร์ทอง ป. 1/3
6 ด.ญ.พรนภา ลุงมา ป. 1/3
7 ด.ญ.จริตา แกว่นธัญกิจ ป. 2/1
8 ด.ช.เมธาสิทธิ์ หวังสุข ป. 2/1
9 ด.ช.นรินทร์ ศรีสุพัฒน์ ป. 2/2
10 ด.ช.สุธิชัย นิโพ ป. 2/2
11 ด.ช.เอกสิทธิ์ จันทรา ป. 2/3
12 ด.ช.นภดล เสียงใสย์ ป. 2/3
13 ด.ช.ขวัญชัย หนูหนุน ป. 3/1
14 ด.ญ.ฐิติพร ดอกกุล ป. 3/1
15 ด.ช.ศุภจิตณ์ หมัดแสกะ ป. 3/2
16 ด.ญ.เพชรลดา พรดิน ป. 3/2
17 ด.ช.ณัฐกรรณ์ นามยอด ป. 3/3
18 ด.ญ.เบญจมาศ สายชุ่มใจ๋ ป. 3/3
19 ด.ช.พงศธร ภัทรทวีผล ป. 4/1
20 ด.ญ. ลออรัตน์ กาหล้า ป. 4/1
21 ด.ช.เจษฎา บุญเป็ง ป. 4/2
22 ด.ญ. สุชาดา ขยัน ป. 4/2
23 ด.ช.ธีรนัย ขาวหล้า ป. 4/3
24 ด.ญ.อริศสา คำป้อ ป. 4/3
25 ด.ญ.แสงจิ่ง ลุงต๊ะ ป. 5/1
26 ด.ช.ศตายุ บุญทา ป. 5/1
27 ด.ช.ดุษฎี เชื้อชาย ป. 5/2
28 ด.ญ.พุทธิดา มหาวันเทพ ป. 5/2
29 ด.ช.ปรเมธ เต๋จ๊ะ ป. 5/3
30 ด.ญ.สร้อย ติม่า ป. 5/3
31 ด.ช.ณัฐกิตต์ ลุงดี ป. 6/1
32 ด.ญ.จุฬาทิพย์ เฉลียว ป. 6/1
33 ด.ช.เกียรติศัดดิ์ เป็งคำ ป. 6/2
34 ด.ญ.กันตินัน สุขแสน ป. 6/2
35 ด.ช.ณัฐวุฒิ สุระวัง ป. 6/3
36 ด.ญ.จิดาภา โสรัจวัฒนาพร ป. 6/3
37 ด.ช.พิทวัส คำฟั่น ม. 1/1
38 ด.ญ.สายใจ แซ่วัง ม. 1/1
39 ด.ช.วุฒิไกร อินก้อน ม. 1/2
40 ด.ญ.เมธาวี สิทธิวัง ม. 1/2
41 ด.ช.วรพงศ์ สุยัง ม. 1/3
42 ด.ญ.ปภัสรา อุปะระ ม. 1/3
43 ด.ญ.อังคณา คำอ้าย ม. 2/1
44 ด.ช.ปริยฉัตร ชัยวังปัน ม. 2/1
45 ด.ญ.ลู่ ลุงติ ม. 2/2
46 ด.ญ.ดวงดาว – ม. 2/2
47 ด.ญ.โสภา อินต๊ะปาง ม. 2/3
48 ด.ญ.เย็น ลุงคำ ม. 2/3
49 ด.ช.วัชรวุทธิ์ แซ่ล้อ ม. 3/1
50 ด.ญ.พิมลวรรณ ยาวิจิตร ม. 3/1
51 ด.ญ.พัชรินทร์ มหาไม้ ม. 3/2
52 ด.ช.ปลื้ม แย้มขยาย ม. 3/2
53 ด.ช.จักรกฤษ อินจง ม. 3/3
54 ด.ญ.ชลลดา สืบสุยะ ม. 3/3

กิจกรรมต่างๆ ของชมรม